วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตะไคร้

ตะไคร้ (Takhrai), Lemongrass

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus Stapf.

วงศ์ GRAMINEAE

ชื่ออื่นๆ

ภาคเหนือ : จะไค (Cha-khai) จะไค้ (Cha-khai)

ภาคใต้ : ไคร (Khrai)

ชวา : ซีเร (Sere)

ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย

รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกทีมีอายุได้หลายปี ชอบดินร่วนซุย ปลูกได้

ตลอดปี ใบสีเขียวยาวแหลม ดอกฟูสีขาว หัวโตขึ้น

จากดินเป็นกอๆ กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างร้อน

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

น้ำมันจากใบและต้น แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม สบู่

ลำต้นแก่หรือเหง้า แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน




วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไม้มงคล








ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8 - 15 เมตร
ประโยชน์ ราก ฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย รากและแก่นเป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย เนื้อไม้สีแดงแกมเหลืองทนทานใช้ทำเสา ล้อเกวียน ใบต้มกินเป็นยาระบาย ดอกแก้ไข้ ฝักเนื้อในรสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดเอเชียแถบร้อน ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไปออกดอก กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ทิ้งใบก่อนออกดอกขยายพันธุ์ โดยเมล็ด วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ นำเมล็ดมาตัดหรือทำให้เกิด บาดแผลที่ปลายเมล็ดแล้ว แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง หรือแช่กรดซัลฟูริคเข้มข้น 1.84 ประมาณ 15 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง วิธีนี้สะดวกแต่อันตราย และอีกวิธีหนึ่งคือ ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทลงในเมล็ด ทิ้งไว้ข้ามคืน ทั้ง 2 วิธีนี้จะทำ ให้เมล็ดดูดน้ำเข้าไปและพร้อมที่จะงอก
วิธีเพาะ อาจหยอดลงในถุงดินที่เตรียมไว้หรือจะเพาะในแปลงเพาะแล้วย้ายชำกล้าในภายหลัง ควรให้เมล็ดอยู่ใต้ผิวดิน 3-5 มิลลิเมตร รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 สัปดาห์